ขอแสดงความยินดักับนักวิจัยที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับดีมาก

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทั้ง 5 ท่าน ที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับดีมาก และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาที่ได้รับรางวัลผู้ประสานงานโครงการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นระดับภาคใต้ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 (HERP CONGRESS V) “รากฐานภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมวิจัยสู่สากล” ในระหว่างวันที่ 2 - 4 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดโดยสำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 
ในการประชุมครั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเข้าร่วมกิจกรรมใน 2 ประเภท คือ การจัดนิทรรศการเรื่อง สาคู และการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ในนามของกลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัย ราชภัฏ – ราชมงคล ภาคใต้ และการนำเสนอผลงานวิจัย โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักบริหารโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2558 เข้าร่วมนำเสนองานวิจัย จำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากผักพื้นบ้าน นักวิจัย คือ อาจารย์วราศรี แสงกระจ่าง อาจารย์จุรีภรณ์ นวลมุสิก 2. เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.ดร.จุติพร อัศวโสวรรณ ผศ.ดร.สมพร เรืองอ่อน ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน อาจารย์จุฑามาศ ศุภพันธ์ อาจารย์วิเชียร มันแหล่ และผศ.ดร.สุภาวดี รามสูตร 3. เรื่องการศึกษาและพัฒนารูปแบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านอาหารอย่างยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.วรรณชัย พรหมเกิด 4. เรื่องการกระจายตัวและการใช้ประโยชน์ป่าสาคูในพื้นที่ภาคใต้ : จังหวัดนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.ศุภมาตร อิสสระพันธุ์ อาจารย์มลิมาศ จริยพงศ์ อาจารย์วัฒนณรงค์ มากพันธ์ ผศ.นฤมล ขุนวีช่วย อาจารย์มานะ ขุนวีช่วย ผศ.ฉัตรชัย สังข์ผุด นางจีราภรณ์ สังข์ผุด อาจารยุบุญยิ่ง ประทุม อาจารย์เชษฐา มุหะหมัด และผศ.สุริยะ จันทร์แก้ว และ 5. เรื่องการขยายพันธุ์สาคู, ด้วงสาคู ผสมผสานกับการประมงของแหล่งน้ำสู่รายได้เพิ่มของเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.สุริยะ จันทร์แก้ว ซึ่งโครงการวิจัยลำดับที่ 1, 2 , 3 และ 5 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีมากประเภทโปสเตอร์ ส่วน โครงการลำดับที่ 4 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีมากประเภทบรรยาย 
นอกจากนี้ ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน ยังได้รับรางวัลผู้ประสานงานโครงการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับภาคใต้อีกหนึ่งรางวัลด้วย

   

 

   

 

   

 
04/03/2017 เปิดอ่าน 645 ครั้ง